ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลิ้นจี่เป็นอาหารและยา

ลิ้นจี่เป็นอาหารและยา



    ช่วงนี้เราเริ่มเห็นผลลิ้นจี่ทยอยสุก แต่สียังไม่เข้มจัด การเก็บเกี่ยว ลิ้นจี่มักเริ่มในเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน เมื่อลิ้นจี่ออกสู่ท้องตลาด ลิ้นจี่จะเป็นของฝากที่มีคุณค่าที่เหมาะสำหรับผู้รับ โดยเฉพาะหากเราได้รู้จักลิ้นจี่ดีขึ้น ลิ้นจี่ Litchi chinensis Sonn. Family SAPINDACEAE เป็นไม้ผลยืนต้น เป็นพืชที่เขียวตลอดปี มีหลายพันธุ์ ที่นิยมจำหน่าย ได้แก่ กิมเจ็ง ฮงฮวยและ จักรพรรดิ ปลูกได้หลายภาคของไทย เนื้อลิ้นจี่ มีรสชาติหวานหอมอร่อย เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานและแต่งรสชาติในอาหารหวานคาว และผสมในเครื่องดื่ม เป็นผลไม้ที่นิยมในประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดถึงเอเชียใต้ และอินเดีย

ลิ้นจี่มีต้นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ อีกทั้งปลูกได้ในไทย เวียตนาม ญี่ปุ่น บังคลาเทศ และอินเดียตอนเหนือ อเมริกาใต้และสหรัฐอเมริกา (ฮาวาย และฟลอลิดา) ประเทศจีน บันทึกการใช้ผลไม้นี้ มาตั้งแต่ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่ให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป เช่นการทำลิ้นจี่กระป๋อง ลิ้นจี่อบแห้ง แต่รสชาติจะไม่เหมือนลิ้นจี่สด เพราะความหอมได้ถูกทำลายไปในขั้นตอนการผลิต ปัจจุบันนี้ ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว
เนื้อลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามิน บี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน วิตามินเอ ซี วิตามินบี 6 วิตามินอี โปแตสเซี่ยม ทองแดง สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม โฟเลต และมีเส้นใยอาหารสูง นอกจากนี้มีกรดอะมิโนที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนได้แก่ ไทโรซีน แอสปาราจีน อะลานีน ทรีโอนีน วาลีน และสารประกอบไกลซีน น้ำมันจากเมล็ดลิ้นจี่มีสารประกอบ เป็นกรดไขมันที่สำคัญเช่น ปาล์มมิติก 12% โอลิอิก 27% และไลโนเลอิค 11% ส่วนเปลือกผลมีสารประกอบประเภท ไซยานิดิน- 3 -กลูโคไซด์ และมัลวิดิน - 3 - อะเซทิล – กลูโคไซด์

สรรพคุณทางยา ตามที่ใช้ในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ นับมาแต่โบราณ เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระ-เพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
ในประเทศจีนใช้เปลือกผลลิ้นจี่ทำเป็นชา ใช้ชงเพื่อบรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส ตำรายาจีนกล่าวเฉพาะเมล็ดลิ้นจี่ ว่ามีรสหวาน ขมเล็กน้อย สรรพคุณอุ่น ทำให้พลังชี่ขับเคลื่อน ลดอาการปวด ใช้กรณีปวดท้อง ปวดไส้เลื่อน ปวดบวมของอัณฑะ ใช้ขนาด 5-10 กรัม โดยมักผสมกับสมุนไพรอื่นอีก หนึ่งหรือสองชนิด เมล็ดลิ้นจี่ ที่แห้ง ควรนำมาบด คั่วให้แห้งโดยผสมด้วยน้ำเกลือ แล้วจึงเติมน้ำลงไปต้ม น้ำดื่ม หรือทำเป็นผง รับประทานหรือใช้ ผงยาพอกบริเวณมีอาการปวดบวม รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้นใช้แก้อาการติดเชื้อ ไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

สำหรับ งานวิจัยซึ่ง ยังต้องการพิสูจน์ซ้ำเพื่อให้ได้ผลยืนยัน พบว่า สารสกัดเมล็ด ด้วยน้ำขนาด 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้แก่ผู้ที่เป็นพาหะโรคไวรัสตับชนิด บี ใช้ได้ผลดีในการยับยั้งเอ็นไซม์ตับที่สูงขึ้น

งานวิจัยเปลือก ของผลลิ้นจี่มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา- ไนดินบี 2 และอีพิคาเทชิน ส่วนที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน - 3 - รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน- 3 กลูโคไซด์ เควอเซทิน – 3 - รูติโนไซด์ และเควอเซทิน - 3 - กลูโคไซด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และสารสกัดเปลือกยัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง

รายงานวิจัยที่ทำในประเทศจีนอื่นๆยังพบว่า สารสกัดลิ้นจี่ลดขนาดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นสารสกัดส่วนใดของลิ้นจี่ สำหรับงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของไทย พบว่าสารสกัดผลลิ้นจี่มีฤทธิ์ในการปกป้องตับ ในหนูที่เหนี่ยวนำให้ได้รับสารพิษ และเป็นโรคตับ

ผลการใช้ลิ้นจี่และผลวิจัยจากสารสกัดลิ้นจี่ แสดง ศักยภาพของลิ้นจี่ ไม่เพียงแต่มีรสอร่อย แต่ยังมากด้วยคุณค่าทางยา อย่างไรก็ดี เนื้อผลลิ้นจี่ ยังมีสารประกอบที่พบในการวิจัยและคาดว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิด อาการ “ ร้อนใน ” ได้ การรับประทานลิ้นจี่มากเกินไปอาจเกิดอาการดังกล่าวได้ ควรรับประทานอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารรสเย็น เพื่อให้เกิดความสมดุลและแก้อาการดังกล่าว


: บทความ : รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด
: ภาพ : สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หมากสีดา

สรรพคุณและประโยชน์ของฝรั่ง 33 ข้อ !  ฝรั่ง ชื่อสามัญ Guava ฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linn. จัดเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในหมู่เกาะอินดีสต์ตะวันตก และคาดว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยสายพันธุ์ในบ้านเราที่นิยมนำมารับประทานสดๆ ก็ได้แก่ฝรั่งกิมจู ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งไร้เมล็ด ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นต้น ฝรั่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในบรรดาผลไม้ทุกชนิด ในฝรั่งน้ำหนัก 165 กรัม จะให้วิตามินสูงถึง 377 มิลลิกรัม ! มีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 5 เท่า ! คำแนะนำ : การรับประทานฝรั่งไม่ควรจะปอกเปลือกทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ไม่ควนรับประทานร่วมกับพริกเกลือน้ำตาลหรืออื่นๆ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เราอ้วนขึ้นอีกด้วย คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่งต่อ 165 กรัม • พลังงาน 112 กิโลแคลอรีสรรพคุณของฝรั่ง • เส้นใยอาหาร 8.9 กรัม 36% • โปรตีน 4.2 กรัม 8% • ไขมัน 1.6 กรัม 2% • คาร์โบไฮเดรต 23.6 กรัม 8% • วิตามิน

ประโยชน์ดีดีจากกีวี

กีวี

ประโยชน์ของเผือก

“โอ่วไน” เป็นภาษาจีนที่แปลว่า เผือก เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงชอบทานกันไม่ว่าจะเอามาทำเป็นของหวานอย่างเช่น ข้าวเหนียวปิ้งใส่เผือก บวชเผือก เผือกทอดบัวลอยเผือก แต่การทานเผือกนั้นต้องทำให้สุกเพราะในเผือกดิบจะมีพิษ สังเกตุได้จากการที่เราปลอกเปลือกเผือก ก็จะรู้สึกคัน ถ้าใครแพ้เผือกก็จะมีอาการคันช่องปากหรือลิ้นชา เผือกมีสรรพคุณมีมากมายทีเดียวเรามาดูกัน เผือก - เผือกมีฤทธิ์เป็นกลาง เป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพและให้พลังงานไปพร้อม ๆ กัน มีรสหวานอมเผ็ดนิดหน่อยเหมาะกับเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร เผือกมีแคลอรีสูงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ส่วนที่ใช้ในการรับประทานคือส่วน หัว ของเผือกที่อยู่ใต้ดิน เผือกจะมีสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินบี 1 วิตามินซี และที่สำคัญมีธาตุเหล็กสูงและยังมีฟลูอออไรด์สูง ช่วยทำให้ฟันไม่ผุ กระดูกแข็งแรง เผือกยังช่วยบำรุงไต บำรุงลำใส้และแก้อาการท้องเสียอีกด้วย สรรพคุณ เผือก ถ้าคุณอยากทานเผือกเพื่อบำรุงร่างกาย ให้แข็งแรง วิธีใช้ ต้มเผือก 100 กรัม กับข้าว 100 กรัม ต้มให้เป็นโจ๊ก และทานได้เลย ในผู้ป่วยที่กำลังเป็นไข้ การทานโจ๊กเผือก ก็จะทำ